เหตุใด! ห้ามสตรีเข้าโบสถ์หรือพื้นที่พัทธสีมา เพราะประจำเดือนทำให้ของเสื่อม (มีคลิป)


วิจารณ์ยับ! หญิงแสวงบุญ 3 ราย เข้าอุโบสถวัดดัง จ.เชียงใหม่ ทั้งที่ติดป้ายด้านหน้า “ห้ามสตรีเข้า” อ้างเจ้าอาวาสอนุญาต ด้านเจ้าอาวาสปฏิเสธ ไม่รู้เรื่อง!

เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในโลกออนไลน์ หลังจากที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้เผยแพร่คลิปวีดิโอ ขณะที่หญิงวัยกลางคน 3 คน เข้าไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ อุโบสถเงิน วัดศรีสุพรรณ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีประวัติยาวนานมากกว่า 500 ปี อีกทั้งมีความเชื่อว่า ไม่อนุญาตให้สุภาพสตรีเข้าไปในอุโบสถดังกล่าว เมื่อคลิปวีดิโอเผยแพร่ในโลกออนไลน์ จึงเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก

วันนี้ได้ตระเวนไหว้พระมาหลายวัดมาก จนมาวัดสุดท้ายวัดนี้ อ้นมาครั้งที่ 3 ป้ายเขียนชัดเจนทุกครั้ง ห้ามสตรีเข้าภายในอุโบสถ อ้นเป็นสาวสอง ซึ่งว่าไปโครโมโซมคือเพศชาย แต่ยังเคารพกฎและจารีตว่าไม่เข้าไป เราชื่นชมความงามเพียงด้านนอก เราก็อิ่มใจ อิ่มบุญแล้ว … ตามความเชื่อคนเมืองแถวนั้น เขาว่ามีสิ่งศักดิ์อยู่ใต้อุโบสถนั้น เขาถือว่าห้ามสตรีเข้า ถ้าเข้าไปแล้วหญิงนั้นต้องขึด! “ขึด” รึคึดนี่แหละ แปลว่า อัปปรี จังไร วินาศอัปปรี
ขนาดชาวต่างชาติยังเคารพและไม่เข้าไป แต่เราคนไทยแท้ๆ ทำไมไม่รักษาจารีตที่ดีงามที่สืบต่อกันมาล่ะคะ กระทั่งเจ้าหน้าที่ที่ดูแลที่วัดเข้าไปยกมือไหว้ขอให้ออกมา ก็ไม่สนใจในคำทัดทาน ป้าๆที่บ้านใกล้วัด คนดูและก็ตะโกนจอให้ออกก็ไม่ออกมา อยู่ในนั้นนั่งสวดมนต์นานสักพักนึง จนคล้ายว่าสิ่งศักดิ์สิงร่างชายวัย 40-50 ปี คุณลุงผู้ดูแล แล้วตะโกนด่าอย่างในคลิป ทั้งคณะจึงเดินออกมา ด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม
ยังไงเราไปที่ไหนก็เคารพกฎกันด้วยนะคะ ฟ้ารู้ดินรู้สิ่งศักดิ์รู้นะคะ คนมียศมีอย่างไปกราบไหว้แท้ๆ ถ้าเป็นสตรียังไหว้ได้แค่รอยน้ำสีฟ้าเท่านั้นนะคะ
#รักษาจารีต #รักษาระเบียบด้วยนะคะ

ล่าสุด พระมหาไพรวัลย์ วรรณบุตร ได้แสดงความคิดเห็นระบุว่า

การจะรู้เหตุผลหรือที่มาของข้อห้ามบางอย่าง บางทีเราต้องให้ความสำคัญหรือทำความเข้าใจกับความเชื่อและจารีตของแต่ละท้องถิ่นนะ อย่างข้อสงสัยบางอย่างว่า ทำไมบางพื้นที่ จึงมีการห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าไปสู่เขตโบราณสถานหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคนในชุมชนนั้นนั้นเขาให้ความเคารพนับถือ

อันนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และไม่ใช่แค่เรื่องของความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศ อย่างที่เราเข้าใจ บางทีแค่เห็นป้ายแบบนี้เราอาจคิดว่า อ้อ นี่เป็นเรื่องของการกดขี่ผู้หญิง ไม่ให้เกียรติผู้หญิงเท่ากับผู้ชาย อะไรแบบนี้ ในความเป็นจริงอาจจะตรงกันข้าม หรือมีความลึกซึ้งมากกว่าที่เรามองก็ได้

ในเรื่องของจารีตประเพณีนั้น หลายชุมชนอาจให้ความสำคัญกับเรื่องของ ขึด หรือ คะลำ หรือ ขนาบ ตามแต่ภาษาที่จะเรียก ซึ่งหมายถึง ข้อห้ามร่วมกัน ในการที่จะไม่ไปละเมิดหรือทำผิดในข้อห้ามนั้นนั้น ซึ่งการไม่เข้าไปสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์บางแห่งของผู้หญิง ก็ถือเป็นขึดหรือคะลำ อย่างหนึ่งของบางชุมชน

แล้วข้อห้ามพวกนี้ บางทีมันก็มีเหตุผลนะ เช่นว่า พระธาตุหรือวิหารเจดีย์บางแห่งนั้น สมัยก่อน มีการฝังสิ่งที่ชาวบ้านถือว่า เป็นของศักดิ์สิทธิ์ไว้ข้างล่าง ใต้ฐาน หรือมีการสวดคาถาบางอย่าง เพื่อให้สถานที่นั้นเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับชุมชน ในการที่จะประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อ

แล้วทีนี้ ผู้หญิง ซึ่งโดยความเชื่ออีกเหมือนกันว่า เวลามีประจำเดือนแล้วเนี๊ยะ ประจำเดือนของผู้หญิงมีอำนาจในการที่จะทำลายความศักดิ์สิทธิ์หรือของศักดิ์สิทธิ์บางอย่างลงได้ ถ้าเกิดว่าเข้าไปภายในพื้นที่เหล่านั้น หรือทำให้พื้นที่เหล่านั้นแปดเปื้อนด้วยประจำเดือน นี่จึงเป็นเรื่องว่า ทำไมจึงห้าม

ถ้ามองแบบนี้ กลายเป็นว่า คนในชุมชนหรือสังคมโบราณ เขามองผู้หญิงว่า เป็นเพศที่อำนาจเหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกนะ เพราะสามารถทำลายความศักดิ์สิทธิ์ได้ เห็นไหม ดังนั้น อะไรที่เป็นขึดเป็นข้อห้ามสำหรับชุมชนนั้นนั้น เราในฐานะคนนอกซึ่งอยากเข้าไปสัมผัสพวกเขา จำเป็นต้องเคารพ

ข้อห้ามบางอย่างมันอาจดูไร้สาระสำหรับเรา แต่ในความรู้สึกของคนในพื้นที่ ถ้าละเมิดแล้ว มันอัปปรีย์ มันเป็นเสนียด เป็นอัปมงคล มันกระทบกับความรู้สึกของพวกเขา และอาจนำความไม่สบายใจหรือความเดือดร้อนมาสู่ชุมชนโดยรวม นี่เราต้องเข้าใจ

วัดศรีสุพรรณ เป็นวัดที่อยู่ทางทิศใต้ของคูเมือง บริเวณถนนวัวลายซึ่งเป็นชุมชนทำหัตถกรรมเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่ แต่เดิมนั้นวัดศรีสุพรรณเป็นวัดที่มีประวัติการก่อสร้างมาตั้งแต่ครั้งอดีตกวา 500 ปี สร้างในช่วงสมัย พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช หรือพระเมืองแก้ว กษัตริย์ในราชวงศ์มังราย มีการสร้างพระวิหารบรมธาตุเจดีย์และพระอุโบสถ ประดิษฐานพระเจ้าเจ็ดตื้อ หรือพระพุทธปาฏิหาริย์ เป็นพระประธาน

เนื่องด้วยวัดศรีสุพรรณตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนหัตถกรรมช่างหล่อ หัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องเขิน ของถนนวัวลาย ทางวัดจึงมีแนวคิดที่จะสืบสานมรดกงานศิลป์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืนสืบไปด้วยการรวบรวมภูมิปัญญาชาวบ้านจัดตั้งเป็น กลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ มีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาศิลปะไทยโบราณ สล่าสิบหมู่ล้านนาวัดศรีสุพรรณ ขึ้นภายในวัด ในปี พ.ศ. 2547 ทางวัดศรีสุพรรณมีแนวคิดสร้าง อุโบสถเงินหลังแรกของโลก ให้เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา เกิดเป็นพุทธศิลป์อันวิจิตรที่ดึงดูดให้ทั้งพุทธศาสนิกชนและบุนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเยี่ยมชมความงดงามของพระอุโบสถหลังนี้อยู่ทุกวัน


วิจารณ์ยับ! หญิงแสวงบุญ 3 ราย เข้าอุโบสถวัดดัง จ.เชียงใหม่ ทั้งที่ติดป้ายด้านหน้า “ห้ามสตรีเข้า” อ้างเจ้าอาวาสอนุญาต ด้านเจ้าอาวาสปฏิเสธ ไม่รู้เรื่อง!

เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในโลกออนไลน์ หลังจากที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้เผยแพร่คลิปวีดิโอ ขณะที่หญิงวัยกลางคน 3 คน เข้าไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ อุโบสถเงิน วัดศรีสุพรรณ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีประวัติยาวนานมากกว่า 500 ปี อีกทั้งมีความเชื่อว่า ไม่อนุญาตให้สุภาพสตรีเข้าไปในอุโบสถดังกล่าว เมื่อคลิปวีดิโอเผยแพร่ในโลกออนไลน์ จึงเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก

วันนี้ได้ตระเวนไหว้พระมาหลายวัดมาก จนมาวัดสุดท้ายวัดนี้ อ้นมาครั้งที่ 3 ป้ายเขียนชัดเจนทุกครั้ง ห้ามสตรีเข้าภายในอุโบสถ อ้นเป็นสาวสอง ซึ่งว่าไปโครโมโซมคือเพศชาย แต่ยังเคารพกฎและจารีตว่าไม่เข้าไป เราชื่นชมความงามเพียงด้านนอก เราก็อิ่มใจ อิ่มบุญแล้ว … ตามความเชื่อคนเมืองแถวนั้น เขาว่ามีสิ่งศักดิ์อยู่ใต้อุโบสถนั้น เขาถือว่าห้ามสตรีเข้า ถ้าเข้าไปแล้วหญิงนั้นต้องขึด! “ขึด” รึคึดนี่แหละ แปลว่า อัปปรี จังไร วินาศอัปปรี
ขนาดชาวต่างชาติยังเคารพและไม่เข้าไป แต่เราคนไทยแท้ๆ ทำไมไม่รักษาจารีตที่ดีงามที่สืบต่อกันมาล่ะคะ กระทั่งเจ้าหน้าที่ที่ดูแลที่วัดเข้าไปยกมือไหว้ขอให้ออกมา ก็ไม่สนใจในคำทัดทาน ป้าๆที่บ้านใกล้วัด คนดูและก็ตะโกนจอให้ออกก็ไม่ออกมา อยู่ในนั้นนั่งสวดมนต์นานสักพักนึง จนคล้ายว่าสิ่งศักดิ์สิงร่างชายวัย 40-50 ปี คุณลุงผู้ดูแล แล้วตะโกนด่าอย่างในคลิป ทั้งคณะจึงเดินออกมา ด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม
ยังไงเราไปที่ไหนก็เคารพกฎกันด้วยนะคะ ฟ้ารู้ดินรู้สิ่งศักดิ์รู้นะคะ คนมียศมีอย่างไปกราบไหว้แท้ๆ ถ้าเป็นสตรียังไหว้ได้แค่รอยน้ำสีฟ้าเท่านั้นนะคะ
#รักษาจารีต #รักษาระเบียบด้วยนะคะ

ล่าสุด พระมหาไพรวัลย์ วรรณบุตร ได้แสดงความคิดเห็นระบุว่า

การจะรู้เหตุผลหรือที่มาของข้อห้ามบางอย่าง บางทีเราต้องให้ความสำคัญหรือทำความเข้าใจกับความเชื่อและจารีตของแต่ละท้องถิ่นนะ อย่างข้อสงสัยบางอย่างว่า ทำไมบางพื้นที่ จึงมีการห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าไปสู่เขตโบราณสถานหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคนในชุมชนนั้นนั้นเขาให้ความเคารพนับถือ

อันนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และไม่ใช่แค่เรื่องของความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศ อย่างที่เราเข้าใจ บางทีแค่เห็นป้ายแบบนี้เราอาจคิดว่า อ้อ นี่เป็นเรื่องของการกดขี่ผู้หญิง ไม่ให้เกียรติผู้หญิงเท่ากับผู้ชาย อะไรแบบนี้ ในความเป็นจริงอาจจะตรงกันข้าม หรือมีความลึกซึ้งมากกว่าที่เรามองก็ได้

ในเรื่องของจารีตประเพณีนั้น หลายชุมชนอาจให้ความสำคัญกับเรื่องของ ขึด หรือ คะลำ หรือ ขนาบ ตามแต่ภาษาที่จะเรียก ซึ่งหมายถึง ข้อห้ามร่วมกัน ในการที่จะไม่ไปละเมิดหรือทำผิดในข้อห้ามนั้นนั้น ซึ่งการไม่เข้าไปสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์บางแห่งของผู้หญิง ก็ถือเป็นขึดหรือคะลำ อย่างหนึ่งของบางชุมชน

แล้วข้อห้ามพวกนี้ บางทีมันก็มีเหตุผลนะ เช่นว่า พระธาตุหรือวิหารเจดีย์บางแห่งนั้น สมัยก่อน มีการฝังสิ่งที่ชาวบ้านถือว่า เป็นของศักดิ์สิทธิ์ไว้ข้างล่าง ใต้ฐาน หรือมีการสวดคาถาบางอย่าง เพื่อให้สถานที่นั้นเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับชุมชน ในการที่จะประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อ

แล้วทีนี้ ผู้หญิง ซึ่งโดยความเชื่ออีกเหมือนกันว่า เวลามีประจำเดือนแล้วเนี๊ยะ ประจำเดือนของผู้หญิงมีอำนาจในการที่จะทำลายความศักดิ์สิทธิ์หรือของศักดิ์สิทธิ์บางอย่างลงได้ ถ้าเกิดว่าเข้าไปภายในพื้นที่เหล่านั้น หรือทำให้พื้นที่เหล่านั้นแปดเปื้อนด้วยประจำเดือน นี่จึงเป็นเรื่องว่า ทำไมจึงห้าม

ถ้ามองแบบนี้ กลายเป็นว่า คนในชุมชนหรือสังคมโบราณ เขามองผู้หญิงว่า เป็นเพศที่อำนาจเหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกนะ เพราะสามารถทำลายความศักดิ์สิทธิ์ได้ เห็นไหม ดังนั้น อะไรที่เป็นขึดเป็นข้อห้ามสำหรับชุมชนนั้นนั้น เราในฐานะคนนอกซึ่งอยากเข้าไปสัมผัสพวกเขา จำเป็นต้องเคารพ

ข้อห้ามบางอย่างมันอาจดูไร้สาระสำหรับเรา แต่ในความรู้สึกของคนในพื้นที่ ถ้าละเมิดแล้ว มันอัปปรีย์ มันเป็นเสนียด เป็นอัปมงคล มันกระทบกับความรู้สึกของพวกเขา และอาจนำความไม่สบายใจหรือความเดือดร้อนมาสู่ชุมชนโดยรวม นี่เราต้องเข้าใจ

วัดศรีสุพรรณ เป็นวัดที่อยู่ทางทิศใต้ของคูเมือง บริเวณถนนวัวลายซึ่งเป็นชุมชนทำหัตถกรรมเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่ แต่เดิมนั้นวัดศรีสุพรรณเป็นวัดที่มีประวัติการก่อสร้างมาตั้งแต่ครั้งอดีตกวา 500 ปี สร้างในช่วงสมัย พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช หรือพระเมืองแก้ว กษัตริย์ในราชวงศ์มังราย มีการสร้างพระวิหารบรมธาตุเจดีย์และพระอุโบสถ ประดิษฐานพระเจ้าเจ็ดตื้อ หรือพระพุทธปาฏิหาริย์ เป็นพระประธาน

เนื่องด้วยวัดศรีสุพรรณตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนหัตถกรรมช่างหล่อ หัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องเขิน ของถนนวัวลาย ทางวัดจึงมีแนวคิดที่จะสืบสานมรดกงานศิลป์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืนสืบไปด้วยการรวบรวมภูมิปัญญาชาวบ้านจัดตั้งเป็น กลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ มีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาศิลปะไทยโบราณ สล่าสิบหมู่ล้านนาวัดศรีสุพรรณ ขึ้นภายในวัด ในปี พ.ศ. 2547 ทางวัดศรีสุพรรณมีแนวคิดสร้าง อุโบสถเงินหลังแรกของโลก ให้เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา เกิดเป็นพุทธศิลป์อันวิจิตรที่ดึงดูดให้ทั้งพุทธศาสนิกชนและบุนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเยี่ยมชมความงดงามของพระอุโบสถหลังนี้อยู่ทุกวัน

 

 

 

 

Facebook Comments Box